ทำความรู้จัก กับ “ผังเมือง” พื้นที่สีต่างๆ ที่นักลงทุนควรรู้

ช่วยแชร์ด้วยนะครับ

สีผังเมือง

สีผังเมือง แต่ละสี สามารถก่อสร้างอะไรได้บ้าง

เคยสงสัยกันบ้างไหมครับ การจัดโซนที่ดิน หรือ ผังเมืองออกเป็นสีต่างๆ นั้นมีไว้เพื่ออะไร และ แต่ละสี ของพื้นที่นั้นๆ มีความสำคัญแตกต่างกันอย่างไรบ้าง สำหรับผู้ที่จะลงทุน หรือ ทำธุรกิจเกียวกับอสังหาริมทรัพย์ การศึกษา เรื่อง “สีผังเมือง” นั้นนับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะต้องรู้ว่า พื้นที่ที่เราสนใจนั้นอยู่ในพื้นที่ ผังเมืองสีอะไร เนื่องจากมีกฎหมาย การก่อสร้างระบุไว้ชัดเจน ว่าแต่ละสีของพื้นที่นั้นๆ สามารถก่อสร้างอะไรได้บ้าง อีกทั้งยังสามารถประเมินราคา ของพื้นที่นั้น ได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย

รายละเอียดสีผังเมืองในเขต กรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล ซึ่งเป็นพื้นที่ และ แหล่งลงทุนที่สำคัญ ความหมายของแต่ละสี นั้นคืออะไร และ สามารถก่อสร้างอะไรในพื้นที่ดังกล่าวได้บ้าง


ผังเมือง กรุงเทพฯ และ ปริมณฑล มีการแบ่งประเภทที่ดินออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่

1.ที่ดินประเภท ที่อยู่อาศัย
สีผังเมืองสีเหลือง

แบ่งออกเป็น 3 สี รหัส คือตัว “ย” ตั้งแต่ ย.1 – ย.10

1.1 พื้นที่ “สีเหลือง”

ความหนาแน่นของการอยู่อาศัยต่ำ ตั้งอยู่ในแถบซานเมือง รหัส ตั้งแต่ ย.1 – ย.4

  • ที่ดิน ย.1 สร้างได้เฉพาะบ้านเดี่ยว
  • ที่ดิน ย.2 สร้างทาวน์เฮาส์ได้
  • ที่ดิน ย.3 สามารถสร้างอาคาร ชุด ขนาดเล็ก และ กลางได้
  • ที่ดิน ย.4 ให้ความสำคัญกับพื้นที่ชานเมือง ที่อยู่ในเขต ให้บริการของระบบขนส่งมวลชน

1.2 พื้นที่ “สีส้ม”

ความหนาแน่นของการอยู่อาศัยปานกลาง อยู่ในบริเวณพื้นที่ต่อเนื่องกับเขตเมืองชั้นใน

รหัสคือ ย.5 – ย.7 สามารถก่อสร้างที่อยู่อาศัยได้ทุกรูปแบบ ถ้าเป็นอาคารชุด ที่มีเนื้อที่เกิน 10,000 ตารางเมตร จะต้องตั้งอยู่ริมถนน ที่มีเขตทาง ไม่น้อยกว่า 30 เมตร หรือ อยู่ในระยะ 500 เมตร จากรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน

1.3 พื้นที่ “สีน้ำตาล”

ความหนาแน่นของการอยู่อาศัย สูง ตามเฉดสี เข้มสุด เป็นพื้นที่ในบริเวณ เมืองชั้นใน

รหัสคือ ย.8 – ย.10 สามารถก่อสร้างที่อยู่อาศัยได้ทุกรูปแบบ เนื่องจากที่ดิน มีมูลค่าสูง เช่น คอนโดมิเนียม เป็นต้น


2.ทีดินประเภท พาณิชยกรรม
สีผังเมืองสีแดง

พื้นที่นี้จะใช้ “สีแดง”

มีจุดประสงค์หลักเพื่อการพาณิชย์ สามารถก่อสร้างที่อยู่อาศัยได้ รหัสคือ พ.1 – พ.5

ที่ดิน พ.1 และ พ.2

เน้นการพัฒนาที่ดินเพื่อเป็นศูนย์ พาณิชยกรรม ของชุมชน ในการกระจายกิจกรรมการค้า ศุนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ แบะ นันทนาการ ที่อำนวยความสะดวกต่อการใช้ ชีวิตประจำวันของประชาชน ที่อยู่อาศัยในบริเวณชานเมือง

ที่ดิน พ.3

มุ่งกลุ่มเป้าหมายประชานชนทั่วไป ไม่ได้จำกัด เฉพาะผู้ที่อาศัยในพื้นที่เท่านั้น

ที่ดิน พ.4

มีวัตถุประสงค์ ที่จะเป็นศูนย์กลาง ทางธุรกิจ การค้า การบริการ และ นันทนาการ รวมไปถึงการท่องเที่ยว เนื่องจาก ตั้งอยู่ในเขต การให้บริการของระบบขนส่งมวลชน ทำให้สามารถเข้าถึงได้

ที่ดิน พ.5

เป็นศุนย์กลางทางธุรกิจ การค้า การบริการ นันทนาการ และ การท่องเที่ยว


3.ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม
สีผังเมืองสีม่วง

พื้นที่นี้จะใช้ “สีม่วง”

รหัสของพื้นที่นี้คือ อ.1 – อ.3

สามารถก่อสร้างที่อยู่อาศัยได้ เช่น บ้านเดี่ยว หอพัก หรือ คอนโดมิเนียม ขนาดเล็ก รวมถึงสร้างร้านค้าได้ แต่ไม่สามาถก่อสร้าง อาคารสูง กับ อาคารชุดขนาดใหญ่ได้

  • ที่ดิน อ.1 สำหรับการประกอบกิจการ ที่มีมลพิษน้อย
  • ที่ดิน อ.2 เป็นที่ดินที่เน้นอุตสาหกรรมการผลิต
  • ที่ดิน อ.3 “สีเม็ดมะปราง” ใช้เป็นพื้นที่คลังสินค้า สำหรับการขนส่งในระดับภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

4.ที่ดินประเภท อนุรักษ์ชนบท และ เกษตรกรรม และ ที่ดินประเภทชนบท และ เกษตรกรรม

สีของพื้นที่นี้จะมี 2 แบบ คือ “สีขาวมีกรอบ กับ เส้นทะแยงสีเขียว”

เป็นที่ดินประเภท อนุรักษ์ชนบท และ เกษตรกรรม รหัสคือ ก.1 – ก.5

จุดประสงค์ของการใช้ประโยชน์ ที่ดินประเภทนี้ คือ การสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ของพื้นที่ชนบท และ แหล่งเกษตรกรรม การส่งเสริม การเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำเค็ม และ น้ำกร่อย รวมไปถึง การส่งเสริมเศรษฐกิจการเกษตร


5.ที่ดินประเภทอนุรักษ์ เพื่อส่งเสริม เอกลักษณ์ และ ศิลปวัฒนธรรมไทย

พื้นที่นี้จะใช้ “สีน้ำตาลอ่อน”

จะอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครชั้นใน รหัสคือ ศ.1 และ ศ.2 จุดประสงค์ คือ อนุรักษ์ และ ส่งเสริมเอกลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรม ของชาติ รวมไปถึง กิจกรรมการพาณิชย์ การบริการ และ การท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริม กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ด้านการท่องเที่ยว


6.ที่ดินประเภทสถาบันราชการ สาธารณูปโภค และ สาธารณูปการ

พื้นที่นี้จะใช้ “สีน้ำเงิน”

เป็นที่ดินของรัฐ รหัสคือ ส. ซึ่งจะใช้เพื่อเป็น สถาบันราชการ หรือ การดำเนิน กิจการของรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับ ระบบ สาธารณูปโภค และ สาธารณูปการ หรือ สาธารณะประโยชน์

ล่าสุดนั้น ทางสำนักงานผังเมือง กรุงเทพมหานคร ได้มีการปรับปรุง ผังเมืองรวม กรุงเทพมหานคร ฉบับใหม่ (ฉบับที่4) จากผังเมืองเดิม ที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2556 โดยคาดว่าจะประกาศใช้ไม่เกิน ปี พ.ศ. 2563 เพื่อรองรับการขยายตัวในด้านที่อยู่อาศัย และ เศรษฐกิจ ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ในเขต กรุงเทพฯ และ ปริมณฑล อีกด้วย


สีผังเมือง สีขาวและมีกรอบกับเส้นทะแยงสีเขียว


สีผังเมือง สีน้ำเงิน

www.Kodanghappyforrent.com เรามีโกดังให้เช่า ในพื้นที่สีต่างๆ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

สนใจโทร

☎ 087-892-3220

📲 Line ID : @kodanghappy

▶ Youtube I บอยบ้านน็อคดาวน์โกดังสำเร็จรูป


อ้างอิงข้อมูลจาก :

www.acuterealty.com

www.happyfranchise.co.th


ช่วยแชร์ด้วยนะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *