ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีอะไร

ช่วยแชร์ด้วยนะครับ


การหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือ ที่เรียกเต็มๆว่า “ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย” เป็นมาตรการสำหรับเก็บภาษีล่วงหน้าบางส่วนตอนที่คุณรับเงิน ซึ่งโดยทั่วไป แม้จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่า คุณไม่มีหน้าที่ ต้องยื่นภาษีอีกต่อไป เพราะยังไม่ถือว่าเป็นภาษีสุดท้าย สิ่งที่เราต้องรู้คือ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นส่วนหนึ่งของภาษีเงินได้ ซึ่งปกติเราจะคำนวณขึ้นมาจากปลายปีก้อนหนึ่ง ภาษีเงินได้ทั้งปีตัวนี้ เรานำมาหักด้วยภาษีอีก 2 ตัว คือ ภาษีครึ่งปีที่คิดจากรอบบัญชี และ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ถึงตอนนั้นเราจะรู้ว่า ภาษีปลายปีของเรา จะได้คืนภาษี หรือ จะต้องจ่ายภาษีเพิ่ม

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย มีไว้ทำไม

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย มีไว้สำหรับการนำเงินส่งล่วงหน้าให้กับภาครัฐ โดยเขากำหนดว่า คนจ่ายเงินได้ มีหน้าที่ต้องหักภาษี นี่คือหน้าที่จริง ของภาษีหัก ณ ที่จ่าย เมื่อมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ภาครัฐ กรมสรรพากรจะรู้ข้อมูล รายได้ของเรา และ ตรวจสอบ ว่าเราได้ยื่นภาษีปลายปีหรือเปล่า และ ยื่นภาษีตามความเป็นจริงหรือไม่ ดังนั้น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย มีหน้าที่ 2 อย่าง คือ

1.นำส่งเงินให้กับภาครัฐ

2.กรมสรรพากรสามารถตรวจสอบ การยื่นภาษีของคุณ ตรงกับความเป็นจริงหรือไม่

ผู้จ่ายมีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษีให้กับผู้รับ และ นำยอดเงินที่หักไปส่งที่กรมสรรพากรให้ถูกต้อง

แนวคิดภาษีหัก ณ ที่จ่ายแบบง่ายๆ

คำถามแรก : คุณจ่ายเงินให้คนที่เสียภาษีหรือเปล่า? กรณีที่จ่ายให้คนที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ (ไม่ต้องหักภาษี)

คำถามที่สอง : เงินได้ที่จ่ายเป็นประเภทไหน? เงินได้ 8 ประเภท มีอัตราหักภาษีที่ต่างกัน

คนที่จ่ายเงินมีหน้าที่หักเงินไว้ และ นำยอดเงินที่หักไปส่งที่กรมสรรพากร ดังนั้น คนที่จ่ายมีหน้าที่หักแล้วไม่หัก กฏหมายถือว่าทำผิด คนที่ได้เงิน/รับเงิน มีหน้าที่เก็บหนังสือรับรองการหักภาษีจากคนที่จ่ายเงิน (ใช้เป็นหลักฐานยื่นภาษีปลายปี)


กรณีที่คุณเป็นคนที่ต้องจ่ายเงิน
1.คุณจ่ายเงินให้ใคร คนนั้นมีหน้าที่เสียภาษีหรือเปล่า ถ้าคุณจ่ายเงินให้กับคนที่ไม่มีหน้าที่จ่ายภาษีเงินได้ “คุณไม่ต้องหัก”
ใครมีหน้าที่เสียภาษีบ้าง
  • บุคคลธรรมดา
  • นิติบุคคล
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญ
  • บริษัทห้างหุ้นส่วน
  • คณะบุคคล
  • มูลนิธิ สมาคม

คนที่เสียภาษี ระบุในประมวลรัษฎากร

2.เงินได้ที่จ่ายเป็นเงินได้ประเภทไหน

เงินได้ 8 ประเภท มีอัตราการหักภาษีที่ต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น

จ่ายค่าเช่าโกดัง เป็นเงินได้ประเภทที่ 5

จ่ายเงินเดือน เป็นเงินได้ประเภทที่ 1

ถ้าคุณรู้เงินได้ ทั้ง 8 ประเภทนี้ จะทำให้คุณหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ง่ายขึ้น


ตัวอย่างการหักภาษี ณ ที่จ่าย

บริษัท A จ่ายค่าเช่าโกดังให้กับ Happy Realestate จำนวน 10,000 บาท

คนรับคือ Happy Realestate เป็นนิติบุคคล มีหน้าที่เสียภาษี

ค่าเช่า คือ เงินได้ประเภทที่ 5 (เงินได้ประเภทที่ 5 ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตรา 5 %)

บริษัท Aเงินได้Happy Realestate
ค่าใช้จ่าย10,00010,000
ส่งสรรพากร500ภาษีถูกหัก

สรุป บริษัท A จ่ายเงินได้ 10,000 บาท นั่นคือ บริษัท A จะมีค่าใช้จ่าย 10,000 บาท เพราะภาษีไม่ใช่ค่าใช้จ่าย เงิน 10,000 บาท คือค่าเช่าที่ตกลงกัน ส่วน Happy Realestate เป็นนิติบุคคล มีรายได้ 10,000 บาท


📢สนใจเช่าโกดัง ติดต่อ
☎โทร.087-892-3220
📱Line ID : @kodanghappy
▶YouTube Iบอยบ้านน็อคดาวน์ โกดังสำเร็จรูป
💻www.Kodanghappyforrent.com
✉E-mail : kriengsak25a@gmail.com

ช่วยแชร์ด้วยนะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *